บพท. ประกาศรับข้อเสนอเชิงหลักการ (Concept proposal) กรอบการวิจัย “มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่” ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ “การพัฒนาพื้นที่ด้วยองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัย”ประจำปี 2565

บพท. ประกาศรับข้อเสนอเชิงหลักการ (Concept proposal) กรอบการวิจัย “มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่” ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ “การพัฒนาพื้นที่ด้วยองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัย”ประจำปี 2565

เนื้อความ :

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

 ประกาศรับข้อเสนอเชิงหลักการ (Concept proposal)

กรอบการวิจัย “มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่”

ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) “การพัฒนาพื้นที่ด้วยองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัย”

ประจำปีงบประมาณ 2565

กรอบการวิจัยและประเด็นโจทย์ที่ให้ความสำคัญ

โจทย์* เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ
การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยฐานทุนทางวัฒนธรรมผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและประชาคมทางวัฒนธรรมในพื้นที่

1)   การสร้างกลไกประชาคมทางวัฒนธรรมด้วยการประสานสร้างความร่วมมือระหว่าง        3 กลุ่มเป้าหมาย คือ คนคืนถิ่น/คนรุ่นใหม่ ช่างฝีมือท้องถิ่น/ศิลปินพื้นบ้าน และผู้ประกอบการวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดการส่งเสริมและติดตั้งองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อ  การพัฒนานวัตกรทางวัฒนธรรมและผู้ประกอบการวัฒนธรรมที่สามารถผสานและนำองค์ความรู้ไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการทางวัฒนธรรม

2)   การพัฒนาผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรมที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจผ่านการผลิตสินค้าและบริการเชิงวัฒนธรรมด้วยคุณค่าของทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่

3)      การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของทุนทางวัฒนธรรมและรายได้รวมถึงคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายในระดับครัวเรือน เพื่อเป็นข้อมูลตั้งต้น (Baseline) ในการประเมินผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มเป้าหมาย

4)   เสริมสร้างพลัง (Empowerment) การเกาะเกี่ยวทางสังคมระหว่างคนรุ่นเก่าคนรุ่นใหม่ และสำนึกท้องถิ่นบนฐานทุนวัฒนธรรม

1)   ผู้ประกอบการวัฒนธรรม

ไม่น้อยกว่า 10 ราย

ต่อโครงการ

2)   นวัตกรทางวัฒนธรรม

ไม่น้อยกว่า 10 ราย

ต่อโครงการ

3)   ผลิตภัณฑ์/บริการทางวัฒนธรรม ไม่น้อยกว่า

10 รายการต่อโครงการ

4)   รายได้ของผู้ประกอบการวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ

15 ต่อโครงการ

5)   ชุดข้อมูลทุนวัฒนธรรมที่บันทึกในระบบสารสนเทศแผนที่วัฒนธรรม

6)   สื่อดิจิทัลเพื่อการสื่อสารการตลาด

7)   ผลการประเมินผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมจากฐานทุนวัฒนธรรมของกลุ่มเป้าหมาย

 หมายเหตุ:      *โครงการวิจัยต้องดำเนินโจทย์วิจัยครบทุกข้อ

คำอธิบาย

เป้าหมายของกรอบการวิจัยนี้ คือ การส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมประสานระหว่างวัฒนธรรม (Cross Cultural Collaboration) ผ่านการสร้างกลไกประชาคมทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ คนคืนถิ่นหรือคนรุ่นใหม่ ช่างฝีมือท้องถิ่นหรือศิลปินพื้นบ้านและผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรม (Cultural Entrepreneur) รวมถึงหน่วยงานท้องถิ่นที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันสกัดคุณค่าของทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Values Extraction) ที่ได้ข้อมูลจากกระบวนการจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรม (Cultural Mapping) ของพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง และนำองค์ความรู้ในพื้นที่ (Local Wisdom) มาบูรณาการกับองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัย เพื่อร่วมสร้างสรรค์ (Cultural Co-Creation) ผลผลิตทางวัฒนธรรมจากทุนวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิม เป็นผลิตภัณฑ์และการบริการทางวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ (Cultural Reinvention) ที่ยังคงรักษาคุณค่าและอัตลักษณ์เดิมไว้บนพื้นที่วัฒนธรรม เพื่อให้เกิดการสร้างอาชีพ มูลค่าทางเศรษฐกิจ  ฐานรากในพื้นที่ และการเกาะเกี่ยวกันทางสังคม (Social Cohesion) ระหว่างกลุ่มเป้าหมาย หรือรวมถึงหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องบนพื้นที่วัฒนธรรมจนนำไปสู่การร่วมสร้างสำนึกท้องถิ่นสืบทอดทุนทางวัฒนธรรมไปยังคนรุ่นหลังต่อไป

 

คุณสมบัติและเงื่อนไขการรับทุนวิจัย

  1.  เป็นทุนระดับสถาบัน ผู้มีสิทธิเสนอขอรับทุน คือ อธิการบดี หรือผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาระดับรองอธิการบดี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิการบดี และมีการมอบหน่วยบริหารจัดการงานวิจัยในระดับสถาบัน/มหาวิทยาลัย ที่จะทำหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยร่วมกับ บพท.
  2. สถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัยที่สนใจสามารถเสนอข้อเสนอเชิงหลักการ (Concept Proposal) ได้เพียง 1 โครงการต่อสถาบัน
  3. เป็นสถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัย ที่มีที่ตั้งหรือพื้นที่บริการอยู่ในจังหวัดเป้าหมายของการดำเนินงานวิจัย หากเป็นสถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัย/หน่วยงานภายนอกพื้นที่เป้าหมาย ต้องมีความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัย/หน่วยงานวิชาการในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้น


ช่วงเวลารับข้อเสนอ
  10 ธันวาคม 2564 -  15 มกราคม 2565  เวลา 16.00 น. (หน่วยงานต้นสังกัดรับรองภายในวันที่ 17 มกราคม 2565 เวลา 16.00 น. )


ช่องทางการยื่นข้อเสนอฯ
  ผ่านระบบ NRIIS (http://nriis.go.th/) ข้อมูลเพิ่มเติม    เว็บไซต์หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ที่ https://www.nxpo.or.th/A และผ่านทาง Facebook ที่ https://www.facebook.com/PMUA.THAI


ทั้งนี้ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดกิจกรรมชี้แจงเป้าหมายของแผนงานและตอบข้อซักถามแก่ผู้สนใจ ในวันอังคารที่ 
14 ธันวาคม 2564 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ZOOM โดยท่านที่สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม และส่งข้อซักถามล่วงหน้าได้ทาง Facebook ที่ https://www.facebook.com/PMUA.THAI

และเวทีชี้แนวทางการพัฒนาข้อเสนอเชิงหลักการ (Concept Proposal) ภายใต้กรอบการวิจัย มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดย รศ.ดร. วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง หัวหน้ากรอบการวิจัย ในวันที่ 18 ธันวาคม 2564 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ zoom


หมายเหตุ

-ผู้เสนอโครงการยื่นข้อเสนอเชิงหลักการผ่านระบบ NRIIS โดยแนบ File Word และ PDFตามแบบฟอร์ม หน่วย บพท. รวมถึงเอกสารหลักฐาน เช่น คำสั่งแต่งตั้งตำแหน่งผู้บริหารมหาวิทยาลัย เอกสารแสดงพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัย และเอกสารอื่นๆ เพื่อยืนยันคุณสมบัติและเงื่อนไขข้างต้น     ที่ถูกกำหนดตามข้อ 7 ระหว่างวันที่ 10 ธันวาคม 2564 - 15 มกราคม 2565 เวลา 16.00 น.

สถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัยต้นสังกัดของหัวหน้าโครงการวิจัยทำการรับรองข้อเสนอเชิงหลักการผ่านระบบ NRIIS ภายในวันที่ 17 มกราคม 2565 เวลา 16.00 น.

- หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ขอสงวนสิทธิ์ในการ รับพิจารณาเฉพาะเอกสารต้นฉบับที่มีรายละเอียดครบถ้วนตามเงื่อนไข และสถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัยของหัวหน้าโครงการวิจัยทำการรับรองข้อเสนอเชิงหลักการในเวลาที่กำหนดเท่านั้น และหากพ้นกำหนดจะถือว่าเป็นโมฆะ

 

ดาวน์โหลดไฟล์ที่เกี่ยวข้อง :
บพท. ประกาศรับข้อเสนอเชิงหลักการ กรอบวิจัย การขับเคลื่อนทุนวัฒนธรรม ปี 2565.pdf
แบบฟอร์ม CS-PMUA ข้อเสนอเชิงหลักการ (Concept proposal) (2).docx
ข่าว : ทุนวิจัยที่เปิดรับ
วันที่ประกาศข่าว : 10 ธ.ค.64
ประกาศโดย : หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ( แก้ไขครั้งล่าสุดเมื่อ 11 ธ.ค.64)