วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๓ : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อธิการบดี และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งนำผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น และนักวิจัยจากชุมชนดีเด่นรวม ๑๕๒ คน และผู้ปฏิบัติงาน จำนวน ๑๐ คน เข้าเฝ้า พันโท หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล แทนพระองค์รับพระราชทานโล่รางวัลในการจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ ๖ ราชภัฏ ราชภักดิ์”

ในวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อธิการบดี และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งนำผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น และนักวิจัยจากชุมชนดีเด่นรวม ๑๕๒ คน และผู้ปฏิบัติงาน จำนวน ๑๐ คน เข้าเฝ้า พันโท หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล แทนพระองค์รับพระราชทานโล่รางวัลในการจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ "ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ ๖ ราชภัฏ ราชภักดิ์" ทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา นำโดย​ผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประธานภูมิภาคกลุ่มกรุงเทพมหานครปฏิบัติหน้าที่แทนประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ นำตัวแทนนักวิจัยดีเด่นและตัวแทนชุมชนดีเด่นเข้ารับประทานรางวัลดังนี้​ นักวิจัยดีเด่น​ ได้แก่​ ผศ.ดร. เอกชัย​ พุหิรัญ​ จากวิทยาลัยการดนตรี​ โดยมีผลงานวิจัยมีความโดดเด่นในรูปแบบของงานวิจัยเชิงพื้นที่ที่เน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ผสมผสานกับการสร้างนวัตกรรมในมิติของงานสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมดนตรี กล่าวคือเป็นงานวิจัยเชิงพัฒนาและอนุรักษ์วัฒนธรรมด้านดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ ไทย-ลาว ในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีการสร้างนวัตกรรมด้านเครื่องดนตรีประดิษฐ์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน โดยได้ออกแบบและประดิษฐ์เครื่องดนตรีขึ้นใหม่เพื่อสร้างอาชีพและรายได้เสริมให้แก่คนในชุมชน
ทางด้านนักวิจัยจากชุมชนดีเด่น​ ได้แก่​ นางสาวมณีรัตน์ ขจรกาญจนรักษ์​ ประธานชุมชนสี่แยกบ้านแขก​ ซึ่งมีผลงานวิจัยชุมชนที่ร่วมกับมหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ดังนี้
๑) โครงการชุมชน น้ำใส ทานผักปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม กิจกรรม: การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปรับภูมิทัศน์ริมคลองด้วยยางล้อยางรถยนต์เหลือใช้
๒) โครงการชุมชนคลองสวย น้ำใส ทานผักปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม น้อมนำเศรษฐกิจ
พอเพียง กิจกรรม: การพัฒนาปรับภูมิทัศน์ภายชุมชนในแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี ด้วยป้ายบอกทาง
๓) โครงการชุมชนน้ำใส อาหารปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ฝั่งธนบุรี กิจกรรม: การพัฒนาปรับภูมิทัศน์อย่างมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาสู่ย่านการท่องเที่ยวใหม่ ด้วยป้ายชุมชนอย่างมีส่วนร่วมด้วยเอกลักษณ์และอัตลักษณ์เฉพาะชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว​ เป็นต้น