สอวช. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

แหล่งที่มา : สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
รับเรื่อง : 19 มิถุนายน 2563,  ตรวจสอบ : 21 มิถุนายน 2563 , เผยแพร่ : 22 มิถุนายน 2563

สอวช. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
ประกาศรับข้อเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Proposal) ประจำปีงบประมาณ 2563-2564 แผนงานแพลตฟอร์มบ่มเพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึกเพื่อการต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม (Deep Science and Tech Accelerator)

ส่งข้อเสนอฉบับสมบูรณ์ผ่านระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS) ทางเว็บไซต์ http://nriis.nrct.go.th 

ยื่นในระบบได้ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2563 ถึง วันที่ 15 กรกฎาคม 2563

เพื่อเป็นการเร่งผลักดัน และสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้ชิ้นงานวิจัยได้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ การส่งเสริมสนับสนุนแบบก้าวกระโดดให้กับแผนวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงลึกด้าน Deep Science and Technology ที่เป็นกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูงที่ต้องใช้เวลาการวิจัยและพัฒนาที่ยาวนานและเข้มข้น ได้ผลวิจัยที่ไม่เหมือนใคร ลอกเลียนแบบได้ยาก เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีสิทธิบัตรคุ้มครอง และผลผลิตที่ได้จากการวิจัยที่เริ่มต้นจากระดับ Technology level readiness (TRL) อย่างน้อยระดับ 5 และเมื่อสิ้นสุดโครงการสามารถพัฒนาสู่ระดับ TRL อย่างน้อยระดับ 8 สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้สูงในตลาดได้ระยะยาวแล้วก็ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูง สามารถลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์หรือบริการด้านเทคโนโลยี จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐจะต้องสนับสนุนการสร้างฟอร์มบ่มเพาะและพัฒนาธุรกิจที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Science and Tech Accelerator) ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศที่เชื่อมต่อ การสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการเชิงพาณิชย์สำหรับวิสาหกิจเริ่มต้นเป็นแหล่งฝึกอบรมบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ รวมไปถึงผู้ประกอบการให้สามารถสร้างธุรกิจได้จากงานวิจัยและนวัตกรรมรวมถึงการพัฒนากลไกบ่มเพาะและเร่งการเติบโตของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สามารถเข้าถึงองค์ความรู้และสามารถพระหน้าผลงานวิจัยและนวัตกรรมตามโจทย์ความต้องการของภาครัฐหรือบริษัทขนาดใหญ่ได้โดยการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ซื้อและผู้ผลิตในการกำหนดโจทย์นวัตกรรมจากความต้องการจริงตลอดจนสร้างความร่วมมือเพื่อแบ่งปันและต่อยอดองค์ความรู้ระหว่างผู้ประกอบการในห่วงโซ่คุณค่า ในรูปแบบของนวัตกรรมแบบเปิดเพื่อย่นระยะเวลาของการพัฒนานวัตกรรมให้รวดเร็วขึ้น ยกระดับผู้ประกอบการไทยสู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่พร้อมรับมือการพัฒนาการแข่งขันที่รุนแรงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นผู้เล่นที่ส่งผลกระทบสูงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

ทั้งนี้แผนงานดังกล่าวมีเป้าหมายและคาดหวังผลสำเร็จที่สำคัญ (objective and Key results) ตามแพลตฟอร์ม 3 การวิจัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันโปรแกรมที่ 10 ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยมีผลสัมฤทธิ์หลัก คือ จำนวนวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) และวิสาหกิจฐานนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprises: IDEs) ที่มีศักยภาพเติบโตได้อย่างรวดเร็วก้าวกระโดด 5,000 รายละเอียดโปรแกรม 16 พัฒนาระบบ ออวน. เพื่อให้เกิดระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนากำลังคนที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ และสร้างงานวิจัยนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและสร้างความเป็นเลิศของระบบอุดมศึกษาไทยในระดับนานาชาติ

โดยผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดประกาศรับข้อเสนอฉบับสมบูรณ์ประจำปีงบประมาณ 2563 – 2564 แผนงานแพลตฟอร์มบ่มเพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึกเพื่อการต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม (Deep Science and Tech Accelerator) ได้ที่ ประกาศรับข้อเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ประจำปีงบประมาณ 2563 – 2564 แผนงานแพลตฟอร์มบ่มเพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึกเพื่อการต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม (Deep Science and Tech Accelerator)

 854 total views,  1 views today